เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic: "ครอบครัว ก.ไก่"
Understanding Goal (เป้าหมายของความเข้าใจ) :
นักเรียนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน และสมาชิกในครอบครัว สามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

week3

เป้าหมายรายสัปดาห์  : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกในครอบครัวสามารถบอกความเหมือน/ความแตกต่างของตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้


Week

Input

Process

Output

Outcome
3
25 ส.ค. – 29 ส.ค. 57
โจทย์ :
ประเภท/ องค์ประกอบ(สมาชิกในครอบครัว)
Key  Questions
- ครอบครัวของไก่กับคนเหมือน/ต่างกันอย่างไร?
-ครอบครัวของนักเรียนมีสมาชิกทั้งหมดกี่คน และมีใครบ้าง?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัว บอกความเหมือน/ต่างของสมาชิกในครอบครัว
Blackboard  Share องค์ประกอบ(สมาชิกในครอบครัว)
Wall  Thinking : Family tree
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-เพลงครอบครัวหรรษา
-คลิปวีดีโอ เรื่อง “ครอบครัวหรรษา”
-นิทาน เรื่อง แม่ไก่ออกไข่
-คอกไก่ (ครอบครัวไก่)

ชง
- ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง ครอบครัวหรรษา
 - ครูและนักเรียนร่วมกันสังเกตครอบครัวไก่ที่หน้าตึกอนุบาล
 -ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไรและรู้สึกอย่างไร ? นักเรียนคิดว่าสมาชิกครอบครัวของไก่ประกอบด้วยใครบ้าง ?  
เชื่อม
 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น
 ชง
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ เรื่อง ครอบครัวหรรษา
  - ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร?”  “นักเรียนคิดว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร?” “สิ่งที่เห็นในคลิปวีดีโอมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
เชื่อม
 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ  
ใช้
- นักเรียนทำ ใบงาน Family tree
ชง
-ครูเล่านิทาน เรื่อง  “แม่ไก่ออกไข่”
-ครูนำภาพสมาชิกในครอบครัวของตนมาให้นักเรียนสังเกต พร้อมกับเล่าเกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัวให้นักเรียนฟัง
-ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าครอบครัวของคุณครูมีสมาชิกกี่คน?”  “ประกอบไปด้วยใครบ้าง?”--นักเรียนคิดว่าสมาชิกในครอบครัวมีลักษณะเหมือน/ต่างกันอย่างไร?
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นในภาพ
-นักเรียนจัดเตรียมภาพครอบครัวของตนเองมา
-นักเรียนแต่ละคนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับภาพครอบครัวของตนเองให้คุณครูและเพื่อนๆฟัง
-ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “ครอบครัวของนักเรียนมีสมาชิกทั้งหมดกี่คน?”  “และมีใครบ้าง?
สมาชิกในครอบครัวมีความเหมือน/ต่างกันอย่างไร?
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
ใช้
นักเรียนประดิษฐ์หุ่นนิ้วมือสมาชิกครอบครัว
ชง
-ครูและนักเรียนร่วมกันเล่นเกม “ครอบครัวใครเอ่ย?
-ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเล่นเกมครอบครัวใครเอ่ย?
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้
นักเรียนปั้นดินน้ำมันสมาชิกครอบครัวไก่

ชิ้นงาน
- ใบงาน Family tree
-ประดิษฐ์หุ่นนิ้วมือสมาชิกครอบครัว
-ปั้นดินน้ำมันครอบครัวของหนู
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับกิจกรรมที่ได้ทำ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทองค์ประกอบ(สมาชิกในครอบครัว)

ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกในครอบครัวสามารถบอกความเหมือน/ความแตกต่างของตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูภาพยนตร์และคลิป รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสังเกต
สิ่งต่างๆโดยรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตจากการเดินสำรวจ
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
-   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



ภาพตัวอย่างกิจกรรม


















ภาพตัวอย่างชิ้นงาน








1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 3 เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเภท/ องค์ประกอบ(สมาชิกในครอบครัว) ของไก่และคน ซึ่งในวันจันทร์คุณครูมีเกมสนุกๆให้เด็กๆได้เล่นเป็นกลุ่ม คือ เกมแม่ไก่ตามหาลูกไก่ เด็กๆสามารถสังเกตรูปร่างลักษณะของแม่ไก่กับลูกไก่ และนำเสนอผลงานของกลุ่มตนเองให้กับคุณครู และเพื่อนๆฟัง
    กลุ่มพระจันทร์
    - แม่ไก่ตัวที่ 1 มีลูกไก่ 6 ตัว และตัวที่ 2 มี 10 ตัวครับ
    - สิ่งที่ลูกไก่เหมือนแม่ไก่ดูจาก ขา หาง ตา ปาก เหมือนกัน
    - ลูกไก่ตัวที่ 1 มาเป็นลูกของแม่ไก่ตัวที่ 2 ไม่ได้ เพราะ ขา สี ตัว และหน้าไก่ไม่เหมือนกัน
    กลุ่มสายรุ้ง
    - แม่ไก่ตัวที่ 1 มีลูกไก่ 5 ตัว และตัวที่ 2 มีลูก 3 ตัวคะ
    - ลูกไก่เหมือนแม่ไก่ ดูจากตาไก่เป็นวงกลม มีสีเหลืองเหมือนแม่ไก่ มีขา ตัว ปาก ตา ที่เหมือนกัน
    กลุ่มดวงดาว
    - แม่ไก่ตัวที่ 1 มีลูกไก่สีดำ 1 ตัว นอกนั้นเป็นสีเหลือง โมมั่นใจว่าเป็นลูกของตัวนี้
    - ดูจากที่ลูกไก่ขา หงอน ปาก และตัวเหมือนกัน
    - พวกเรามั่นใจว่าเป็นลูกของแม่ไก่ตัวนี้
    กลุ่มพระอาทิตย์
    - แม่ไก่ตัวที่ 1 มีลูกไก่ 5 ตัวและตัวที่ 2 มีลูกไก่ 10 ตัวค่ะ
    - แม่ไก่ตัวที่ 1 มีลูกไก่ที่มีตา หงอน สี และตัวเหมือนกันค่ะ
    - ลูกไก่ต้องมีหน้าตา ปาก และขาสีแดงเหมือนแม่ไก่ค่ะ
    วันต่อมาเด็กๆนำภาพครอบครัวของตนเองมาเล่าให้คุณครูและเพื่อนๆฟัง ทุกคนสามารถบอกได้ว่าครอบครัวของตนเองมีกี่คน และประกอบไปด้วยใครบ้างได้เป็นอย่างดี เช่น
    น้องเต้: ครอบครัวผมมี 4 คน คือ พ่อ แม่ ตา และเต้ แต่อยู่ในรูปมีแค่ 3 คน เพราะตาไม่ได้มาถ่ายด้วยครับ
    น้องตุ๊กตุ่น : ครอบครัวหนูมี 3 คน คือมีพ่อ แม่ และตุ๊กตุ่นค่ะ
    น้องนโม : ครอบครัวผมมี 4 คน คือ พ่อ แม่ น้องนมะ และนโมครับ
    น้องกุ้ง : ครอบครัวหนูมี 4 คนค่ะ พ่อ มีแม่ พี่ก้อง และน้องกุ้งค่ะ
    น้องฟอร์ด : ครอบครัวผมมี ตา แม่ พี่ฟีฟ่า พี่แก้ม น้องขนม และฟอร์ดครับ รูปที่ถ่ายผมไปเชียงรายครับ
    น้องหนุน : ครอบครัวของผมมี 3 คน คือ พ่อ แม่ และหนุนครับ
    น้องหยก : ครอบครัวหนูมี 3 คนค่ะ มีพ่อ แม่ และหยกค่ะ แม่หนูไปต่างประเทศเพื่อหาเงินค่ะ
    น้องชิน: ครอบครัวผมมีตา ยาย แม่ น้องพลอย และชินครับ
    ตลอดทั้งสัปดาห์เด็กๆ สนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งได้ทำชิ้นงาน Family tree กรอบรูปครอบครัว ซึ่งเด็กๆสามารถทำออกมาได้เป็นอย่างดีค่ะ

    ตอบลบ